วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

การคายน้ำของพืช


การคายน้ำของพืช
                พืชสูญเสียน้ำไปโดยการคายน้ำ(transpiration) สู่บรรยากาศในรูปของไอน้ำผ่านทางปากใบเป็นส่วนใหญ่ และทางผิวใบเพียงเล็กน้อยเพราะมีสารคิวทินเคลือบอยู่เป็นการป้องกันการสูญเสียน้ำ
ปากใบและการคายน้ำของพืช
ในบางครั้งที่อากาศมีความชื้นสัมพันธ์สูง น้ำจะระเหยเป็นไอสู่บรรยากาศได้น้อยลง ทำให้การคายน้ำลดลง แต่แรงดันน้ำในต้นพืชยังสูงอยู่ จึงสามารถพบหยดน้ำที่บริเวณกลุ่มรูเปิดที่ผิวใบซึ่งเรียกว่า ไฮดาโทด (hydathode) มักพบอยู่ใกล้ปลายใบหรือขอบใบตรงตำแหน่งของปลายท่อลำเลียง การคายน้ำในลักษณะนี้เรียกว่า กัตเตชัน (guttation) ทำให้พืชสามารถดูดน้ำทางรากเข้าไปใช้ได้ พบทั้งในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่
พืชนอกจากจะสูญเสียน้ำโดยการระเหยเป็นไอออกมาทางปากใบแล้วพืชยังสามารถสูญเสียน้ำเป็นไอน้ำออกมาทางเลนทิเซล (lenticle) ซึ่งเป็นรอยแตกที่ผิวของลำต้นได้อีกด้วย
ปากใบเปิดเมื่อเซลล์คุมเต่งและปิดเมื่อเซลล์คุมสูญเสียความเต่ง เซลล์คุมเต่งจะสูญเสียความเต่งได้โดยที่  ความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์กำหนดความเต่งของเซลล์คุม เมื่อมีแสงปริมาณโพแทสเซียมไอออนในเซลล์คุมเพิ่มขึ้น ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายเพิ่มขึ้น น้ำจากเซลล์ข้างเคียงจึงแพร่เข้าสู่เซลล์คุม ทำให้เซลล์เต่งมากขึ้นและเปลี่ยนรูปไปทำให้ปากใบเปิด ในทางตรงกันข้ามการลดปริมาณโพแทสเซียมไอออนในเซลล์คุม ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์คุมลดลง น้ำจะแพร่ออกจากเซลล์คุมทำให้เซลล์คุมเปลี่ยนรูปไปเป็นผลให้ปากใบปิด
ปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำ
                อุณหภูมิ ขณะที่ปากใบเปิดถ้าอุณหภูมิของอากาศสูงขึ้น อากาศจะแห้ง น้ำจะแพร่ออกจากปากใบมากขึ้น ทำให้พืชขาดน้ำมากขึ้น
                ความชื้น ถ้าความชื้นในอากาศลดลงปริมาณน้ำในใบและในอากาศแตกต่างกันมากขึ้น จึงทำให้ไอน้ำแพร่ออกจากปากใบมากขึ้น เกิดการคายน้ำเพิ่มมากขึ้น
                ลม ลมที่พัดผ่านใบไม้จะทำให้ความกดอากาศที่บริเวณผิวใบลดลง ไอน้ำบริเวณปากใบจะแพร่ออกสู่อากาศได้มากขึ้น และขณะที่ลมเคลื่อนผ่านผิวใบจะนำความชื้นไปกับอากาศด้วย ไอน้ำจากปากใบก็จะแพร่ได้มากขึ้นเช่นกัน แต่ถ้าลมพัดแรงเกินไปปากใบก็จะปิด
                สภาพน้ำในดิน การเปิดปิดของปากใบมีความสัมพันธ์กับสภาพของน้ำในดินมากกว่าสภาพของน้ำในใบพืช เมื่อดินมีน้ำน้อยลงและพืชเริ่มขาดแคลนน้ำ พืชจะสังเคราะห์กรดแอบไซซิก (abscisic acid) หรือ ABA มีผลทำให้ปากใบปิดการคายน้ำจึงลดลง
                ความเข้มของแสง ขณะที่พืชได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ปากใบจะเปิดมากเมื่อความเข้มแสงสูงขึ้น และปากใบจะเปิดน้อยลงเมื่อความเข้มของแสงลดลง เนื่องจากความเข้มของแสงเกี่ยวข้องกับอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์  น้ำตาล  ไอออน และสารอินทรีย์บางชนิดที่อยู่ในเซลล์คุม  ดังนั้นเมื่อความเข้มข้นของแสงมากขึ้น จะเป็นผลให้การคายน้ำในใบมาก แต่ในบางกรณีถึงแม้ความเข้มของแสงมากแต่น้ำในดินน้อย พืชเริ่มขาดน้ำปากใบจะปิด
                โดยทั่วไปปากใบพืชจะเปิดในเวลากลางวันเพื่อนำคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงและปิดในเวลากลางคืน  แต่พืชอวบน้ำ เช่น กระบองเพชรที่เจริญในที่แห้งแล้ง ปากใบจะเปิดในเวลากลางคืน และปิดในเวลากลางวันเพื่อลดการสูญเสียน้ำ  ในเวลากลางคืนพืชตระกูลนี้จะตรึงคาร์บอนไดออกไซด์แล้วเปลี่ยนเป็นกรดอินทรีย์เก็บสะสมไว้ในแวคิลโอล  ในเวลากลางวันพืชจะนำคาร์บอนไดออกไซด์จากกรดอินทรีย์มาใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง
                พืชบางชนิดยังมีการปรับโครงสร้างให้มีประสิทธิภาพในการดูดน้ำ โดยมีรากแผ่ขยายเป็นบริเวณกว้างหรือมีรากหยั่งลึกลงไปในดิน เช่น หญ้าแฝก  พืชบางชนิดลำต้นและใบอวบน้ำเพื่อสะสมน้ำ มีขนปกคลุมปากใบจำนวนมาก มีคิวทินหนาที่ผิวใบ รูปร่างของใบมีขนาดเล็กลงหรือเปลี่ยนไปเป็นหนาม บางชนิดมีโครงสร้างที่ช่วยลดการคายน้ำ เช่น ปากใบอยู่ต่ำกว่าระดับผิวใบ เช่น ปากใบของต้นยี่โถ

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

การสืบพันธุ์ของพืชดอก (Reproduction in a flowering plant)


การสืบพันธุ์ของพืชดอก (Reproduction in a flowering plant)
            การสืบพันธุ์เป็นการสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ พืชดอกทุกชนิดสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ ผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียในออวุล
อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย (The female organs)
            -Carpel หรือ Pistill: เกสรตัวเมีย เป็นอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมียประ กอบด้วยรังไข่ ยอดเกสรตัวเมีย และก้านเกสรตัวเมีย ดอกบาง ชนิดมีเกสรตัวเมียเพียง 1 อัน บางชนิดมีหลายอัน
            -Ovaries: รังไข่ เป็นโครงสร้างหลักของอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย ภายในโครงสร้างเล็กๆ เรียกว่าออวุล อาจมี 1 หรือหลายออวุล ภายในออวุลมีเซลล์เพศเมีย ออวุลจะติดอยู่กับผนังรังไข่ที่บริเวณ พลาเซนตา
             -Stigma: ยอดเกสรตัวเมีย เป็นส่วนบนสุดของเกสรตัวเมีย ผิว บนยอดเกสรตัวเมียมีน้ำเหนียวๆ เมื่อมีการถ่ายละอองเรณู ทำให้ ละอองเรณูติดอยู่ได้
             -Style: ก้านเกสรตัวเมีย เป็นส่วนของเกสรตัวเมียที่เชื่อมระหว่าง ยอดเกสรตัวเมีย กับรังไข่ ดอกไม้หลายชนิดจะมีก้านเกสรตัวเมีย ชัดเจน เช่น ดอกแดฟฟอดิล บางชนิดมีก้านเกสรตัวเมียสั้น เช่น ดอกบัตเตอร์คัพ และที่สั้นมาก เช่น ป๊อปปี้
             -Gynaeciam: จินนีเซียม เป็นโครงสร้างทั้งหมดของอวัยวะสืบ พันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วยเกสรตัวเมีย 1 อัน หรือมากกว่า

อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ (The male organs)
             -Stamens: เกสรตัวผู้ เป็นอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ เกสรตัวผู้แต่ละ อันประกอบด้วยก้านอับเรณู ตรงปลายก้านมีอับเรณู อับเรณูแต่ละอัน มีถุงเรณู ในถุงเรณูมีละอองเรณู
             -Androecium: แอนดรีเซียม เป็นโครงสร้างทั้งหมดของอวัยวะสืบ พันธุ์เพศผู้ของพืชดอก
               Pollen: ละอองเรณู ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆอยู่ในเกสรตัวผู้ ละอองเรณูแต่ละอันจะมีเซลล์พิเศษที่มี 2 นิวเคลียส คือ เจเนเรทีฟนิวคลียสและทิวบ์นิวเคลียส เมื่อเรณูเข้าไปถึงรังไข่ เจเนเรทีฟนิวเคลียสจะแบ่งเป็น 2 สเปิร์มนิวเคลียส
                                                  
               Ovules: ออวุล ลักษณะเป็นโครงสร้างเล็กๆอยู่ภายในส่วนของอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมียของดอก คือ รังไข่ หลังจากการปฏิสนธิแล้วออวุลจะเจริญเป็นเมล็ด ซึ่งจะมีเซลล์อยู่ภายในเยื่อหุ้มคือ อินทีกูเมนต์ เป็นถุงเอมบริโอ
               Cross Pollination: การถ่ายละอองเรณูข้ามต้น เป็นการถ่ายละอองเรณูจากพืชต้นหนึ่งไปยังพืชชนิดเดียวกันแต่อยู่คนละต้น ถ้าเป็นพืชต่างชนิดกันจะไม่สร้างหลอดละอองเรณู ละอองเรณูถูกพาไปโดยลม หรือแมลงที่ไปกินน้ำหวานในดอกไม้
                            Fertilization: การปฏิสนธิ หลังจากถ่ายละอองเรณูแล้วสเปิร์มนิวเคลียสอันหนึ่งจะเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ในออวุลเป็นไซโกตส่วนสเปิร์มนิวเคลียส
อีกอันหนึ่งจะผสมกับนิวเคลียส 2 อันที่เชื่อมติดกันในถุงเอมบริโอได้เซลล์ใหม่ ซึ่งจะเจริญเป็นเอนโดสเปิร์ม หลังจากปฏิสนธิแล้วออวุลจะเจริญเป็นเมล็ด ภายในเมล็ดมีเอมบริโอ ประกอบด้วยต้นพืชที่เกิดใหม่และแหล่งเก็บอาหาร รังไข่จะเจริญเป็นผลซึ่งภายในมีเมล็ด

                            Self pollination: การถ่ายละอองเรณูภายในต้นเดียวกันหรือในดอกเดียวกัน เช่น การถ่ายละอองเรณูในดอกกล้วยไม้ชนิดหนึ่ง มีกลิ่นคล้ายผึ้งตัวเมีย ทำให้ผึ้งตัวผู้มาดูดกินน้ำหวานและได้ถ่ายละอองเรณูให้ดอกอื่นๆ แต่ถ้าไม่มีผึ้งมา เกสรตัวผู้ก็จะโค้งลงมาและมีการถ่ายละอองเรณู ในดอกเดียวกันได้
                  ไมโครไพล์อยู่ด้านข้างก่อนการปฏิสนธินิวเคลียสในถุงเอมบริโอ แบ่งเซลล์หลายครั้งทำให้เกิดเซลล์ใหม่หลายเซลล์ (บางครั้งเซลล์เจริญไปเป็นส่วน สะสมอาหารให้เมล็ด) และได้ 2 นิวเคลียสที่เชื่อมติดกัน เซลล์ที่ได้ใหม่นี้จะเป็นเซลล์ไข่ 1 เซลล์
 
 






วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

การสืบพันธุ์ของพืชดอก


การสืบพันธุ์ของพืชดอก
พืชดอก  หมายถึงพืชที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะออกดอกเพื่อใช้ในการสืบพันธุ์ เช่น กุหลาบ มะลิ  ทานตะวัน ชบา กล้วยไม้เป็นต้น
ส่วนประกอบของดอก        
     พืชมีอยู่หลายชนิดหลายพันธุ์   ดอกของพืชดอกจึงมีลักษณะขนาดและสีที่  ต่างกันออกไป  แต่ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดใด  ดอกจะมีส่วนประกอบที่สําคัญดังนี้  
        1. กลีบเลี้ยง   เป็นกลีบเล็ก ๆ สีเขียว  อยู่ล่างสุดของดอก ในระยะที่ดอก  เริ่มผลิดอกออกมาใหม่ๆ  เราจะเห็นดอกตูมสีเขียว  เมื่อดอกตูมขยายโตขึ้น    สีเขียวที่หุ้มดอกจะแยกออกมารองรับกลีบดอกกลีบสีเขียวนั้นคือกลีบเลี้ยงนั่น  เอง  กลีบเลี้ยงจะทําหน้าที่ห่อหุ้มดอกตูม  และป้องกันอันตรายให้กลีบดอกในขณะที่ยังอ่อนอยู่
            2.กลีบดอก   เป็นส่วนที่อยู่เหนือขึ้นมาจากกลีบเลี้ยง  กลีบดอกส่นใหญ่  จะมีสีสวยสะดุดตา  หลายชนิดมีกลิ่นหอม  ความสวยงามของดอกจะขึ้นอยู่กับสี    ลักษณะและจํานวนของกลีบดอกเป็นสําคัญ  กลีบดอกเป็นส่วนประกอบของ  ดอกที่บอบชํ่าง่ายและร่วงโรยเร็วกว่าส่วนประกอบอื่น
           3. เกสรตัว   มีลักษณะทัวไปเป็นคล้ายหลอดอันเล็ก ๆ มักมีสีขาว  ปลาย  หลอดจะมีอับใส่ละอองเกสร  รูปร่างค่อนข้างกลมเกสรตัวผู้จะอยู่ถัดจากกลีบดอกเข้า  มาข้างในดอก  ก้านของเกสรตัวผู้อาจจะติดกับกลีบดอก  หรือแยกออกมาต่างหาก  ก็ได้  แล้วแต่ชนิดของพืช  ดอกไม่ดอกหนึ่ง ๆ อาจมีเกสรตัวผู้ตั้งแต่หนึ่งอันไปจนถึง  หลาย ๆ อัน
             4.เกสรตัวเมีย    เป็นส่วนที่อยู่ตรงกลางของดอด  อาจจะมีอันเดียวหรือ   หลายอันก็ได้   เกสรตัวเมียโดยทั่วไปจะประกอบด้วยรังไข่ที่อยู่ล่างสุด  บริเวณฐาน   รองดอก  ภายในรังไข่จะบรรจุไข่อ่อนเล็ก ๆ ไว้  เหนือรังไข่จะเป็นท่อยาวขึ้นมา   เรียกว่า  ก้านชูเกสร  ในท่อของก้านชูเกสรจะมีเหนียว ๆ อยู่  เพื่อนำเชื้อตัว   ผู้ลงมาผสมกับเชื้อตัวเมียในรังไข่  และบนสุดเป็นยอดเกสรตัวเมีย  ซึ่งมีนํ้าเหนียวๆ อยู่เช่นกันนํ้าเหนียวๆ นี้จะช่วยยึดเกาะเกสรตัวผู้ให้เข้ามาผสมกับเกสร ตัวเมียได้ดีขึ้น
             5.ฐานรองดอก  เป็นส่วนประกอบที่ทำหน้าที่รองรับส่วนอื่น ๆ ของดอก   ฐานรองดอกเป็นที่เจริญเติบโตแผ่ขยายต่อออกมาจาปลายก้านดอก  มักจะมีกลีบ   เลี้ยงหุ้มไว้อีกชั้นหนึ่ง  ฐานรองดอกของพืชบางชนิดอาจจะหุ้มรังไขไว้ทั้งหมด    เมื่อรังไข่เจริญขึ้น  ฐานรองดอกก็เจริญด้วย และฐานรองดอกของพืชบางชนิด  กลายเป็นเนื้อของผลที่ใช้รับทานได้เช่น  ชมพู่  ฝรั่ง  แอปเปิล สาลี่  เป็นต้น







                                              http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/chutima_n/plant/picture/pop34.jpg







การสืบพันธุ์ของพืชมีดอก
พืชมีดอกมีวิธีแพร่พันธุ์แตกต่างกัน  พืชดอกจะอาศัยดอกในการสืบพันธุ์  เรียกว่า การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ  และกาสรสืบพันธุ์แบบโดยวิธีอื่นที่ไม่ต้องใช้ดอก เรียกว่า การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

ารสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ  
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศที่สมบูรณ์จะต้องมีอยู่ 2ขั้นตอน ดังนี้
การถ่ายละอองเกสร  คือ  วิธีการที่ละอองเกสรตัวผู้เคลื่อนที่ไป   ตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย  เพื่อให้เกิดการผสมพันธ์ในโอกาสต่อไป  การถ่ายละออง   เกสรมี 3 แบบ คือ
                    1.  การถ่ยละอองเกสรในดอกเดียงกัน  พืชที่มีดอกเป็นดอกสมบูรณ์
   เพศ คือ มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันละอองเกสรตัวผู้สามารถร่วงหรือ  ปลิวมาตกบนยอดเกสรตัวเมียได้พืชที่ถ่ายละอองเกสรในดอกเดียวกัน  ได้แก่   ถั่ว   มะเขือ ฝ้ายและพืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศอื่น ๆ
                    2. การถ่ายละอองเกสรข้ามดอกในต้นเดียวกัน  เกิดกับพืชที่มีดอก   ไม่สมบูรณ์  
ละอองเกสรตัวผู้จะต้องเคลื่อนที่ไปตกบนยอดเกสรตัวเมียของดอกหนึ่ง   ในต้นเดียวกัน  พืชที่ต้องถ่ายละอองเกสรแบบนี้  ได้แก่  ฟักทอง  แตงกวา และพืช   ที่มีดอกไม่สมบูรณ์เพศอื่น ๆ
                   3.  การถ่ายละอองเกสรข้างต้น  เกิดกับพืชที่มีดอกตัวผู้หรือดอกตัวเมีย   อยู่คนละต้น  จึงต้องใช้ในการถ่ายละอองเกสรข้ามต้นพืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศ     หรือพืชที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ก็อาจจะถ่ายละอองเกสร   ข้ามต้นได้  โดย อาศัยลมหรือสัตว์พาไป
การปฏิสนธิ  คือ เซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ (ละอองเรณู)  ผสมกับเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมีย (ไข่อ่อน)
             เมื่อเกิดการถ่ายละอองเรณู   ละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมียและได้รับอาหารที่ยอดเกสรตัวเมีย  จะงอกหลอดไปตามเกสรตัวเมีย และเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ (ไข่อ่อน) ภายในรังไข่


      
http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/chutima_n/plant/picture/pop36.jpg







                                                            

                                                       ขั้นที่ 1                             ขั้นที่ 2                              ขั้นที่ 3
                                    ละอองเรณูปลิวไปตก           ละอองเรณูงอกหลอด       ละอองเรณูไปผสมกับโอวุล
                                         บนยอดเกสรตัวเมีย                ไปตามเกสรตัวเมีย                  เกิดการปฏิสนธิ
        การเปลี่ยนแปลงของดอกหลังการปฏิสนธิ  หลังจากการปฏิสนธิยอดและก้านชูเกสรตัวเมียจะเหี่ยวลง  กลีบเลี้ยง กลีบดอก  เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียก็จะแห้งแล้วร่วงหลุดไปส่วนรังไข่และโอวุลจะมีการเจริญเติบโตต่อไป โดยรังไข่จะเจริญกลายเป็นผลส่วนโอวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด ซึ่งภายในเมล็ดจะเก็บต้นอ่อน และอาหารสะสมไว้ภายในเพื่อเกิดเป็นต้นใหม่ต่อไป

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
1.การปักชำ เป็นการขยายพันธุ์พืชโดยการตัดส่วนของพืชออกจากต้นเดิมมาปักลงในดินหรือทราย  ทีมีความชื้นสมควร  แล้วรดน้ำทุกวัน  จนเกิดรากแตกออกมาปริมาณมากเเละเเข็งแรงจึงนำไปปลูกลงในดิน
http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/chutima_n/plant/picture/pop4.jpg
2. การตอนกิ่งคือ การทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ จะทำให้ได้ต้นพืชใหม่ ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ เหมือนกับต้นแม่
http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/chutima_n/plant/picture/pop.jpg
 
3. การทาบกิ่งคือ การนำต้นพืช 2 ต้นเป็นต้นเดียวกัน โดยส่วนของต้นตอที่นำมาทาบกิ่ง จะทำหน้าที่เป็นระบบรากอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี
4.การติดตาคือ การเชื่อมประสานส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเป็นพืชต้น เดียวกัน โดยการนำแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดี ไปติดบนต้นตอ